สวัสดิการนอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนด
การจัดให้มีสวัสดิการนอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนดเป็นอีกหนึ่งแนวทางในการดึงดูดผู้หางานให้เข้ามาสมัครงานกับบริษัทได้ รวมถึงเป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์องค์กรว่าเป็นองค์กรที่มีความพร้อมในระดับสูง อีกทั้งยังเป็นอีกหนึ่งปัจจัยในการรักษาพนักงานอีกด้วย โดยสามารถแบ่งออกเป็นหมวดใหญ่ ๆ ได้ดังนี้
1. สวัสดิการที่มุ่งพัฒนาลูกจ้าง
- การส่งเสริมการศึกษาทั้งในและนอกเวลาทำงาน
- การจัดตั้งโรงเรียนในโรงงาน
- การอบรมความรู้เกี่ยวกับการทำงานทั้งในและนอกสถานที่ทำงาน
- การจัดให้มีห้องสมุด หรือมุมอ่านหนังสือ ฯลฯ เป็นต้น
2. สวัสดิการที่ช่วยเหลือในเรื่องค่าครองชีพ
- การจัดตั้งร้านค้าสวัสดิการหรือสหกรณ์ร้านค้า
- การให้เงินช่วยเหลือต่างๆ เช่น งานแต่งงาน งานอุปสมบท งานศพ
- การจัดชุดทำงาน
- การจัดหอพัก
- การจัดให้มีรถรับ-ส่ง
- เงินโบนัส ค่าครองชีพ เบี้ยขยัน ค่าเข้ากะ
3. สวัสดิการที่ช่วยเหลือการออมของลูกจ้าง
- สหกรณ์ออมทรัพย์
- กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
4. สวัสดิการที่พัฒนาสถาบันครอบครัวของลูกจ้าง
- การจัดสถานเลี้ยงดูบุตรของลูกจ้าง
- การช่วยค่ารักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัว
- การช่วยเหลือค่าเล่าเรียนบุตรของลูกจ้าง
- การประกันชีวิตให้กับลูกจ้าง
5. สวัสดิการที่ส่งเสริมความมั่นคงในอนาคต
- เงินบำเหน็จ
- เงินรางวัลทำงานนาน
- ให้ลูกจ้างซื้อหุ้นของบริษัท
- กองทุนฌาปนกิจ
- เงินกู้เพื่อสวัสดิการที่พักอาศัย
6. สวัสดิการนันทนาการและสุขภาพอนามัย
- การจัดทัศนศึกษา
- การแข่งขันกีฬา
- การจัดงานเลี้ยงสังสรรค์พนักงาน
- การให้ความรู้เรื่องสุขภาพอนามัย
นับว่าเป็น 6 ไอเดียที่สามารถนำไปต่อยอดได้อย่างดี สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการให้องค์กรของตนมีภาพลักษณ์ที่น่าสนใจ พนักงานมีความสุข เพราะหากพนักงานได้อะไรที่มากกว่าความคาดหวัง หรือพื้นฐานที่ควรจะได้แล้วนั้น ก็มักจะก่อเกิดความสุข ความประทับใจ ซึ่งก่อให้เกิดความผูกพันกับที่ทำงานในที่สุด ซึ่งล้วนแต่ส่งผลดีกับองค์กรในระยะยาว
ที่มา: เว็บไซต์ กรมสวัสดิการ และคุ้มครองแรงงาน